Akp. Master Of Public Administration MPA. Financial Thai Life Contact Us

EEC Organization 2023 Core Vision One hundred million Globalization Appication Financial Investment
ยูนิเวอร์แซล ไลฟ์ (UNIVERSAL LIFE) การประกันควบการลงทุน
     ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นรูปแบบการประกันที่ผสมผสานประโยชน์ของการคุ้มครองชีวิตและการลงทุนเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต และให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งปัจจุบันมี 2 รูปแบบได้แก่ Unit Linked และ Universal Life
ประกันชีวิตแบบ Universal Life (UL) มีความคล้ายคลึงกับแบบ Unit Linked อย่างมาก ต่างกันก็เพียงแค่ UL มีความแน่นอนของผลตอบแทนมากกว่า ความเสี่ยงต่ำกว่า และมีการการันตีผลตอบแทนขั้นต่ำ โดยมีบริษัทประกันเป็นผู้บริหารการลงทุนเอง ขณะที่แบบ Unit Linked ผู้เอาประกันภัยจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงกว่า และผู้เอาประกันภัยต้องเป็นคนบริหารการลงทุนเอง รับผิดชอบความเสี่ยงและผลขาดทุนด้วยตัวเอง เหมาะกับผู้ที่มีเป้าหมายทำประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต โดยต้องการได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันแบบตลอดชีพ หรือแบบสะสมทรัพย์
ข้อมูลจาก https://www.oic.or.th/th/education/consumer/working
จุดเด่น ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL
กรมธรรม์ประกันชีวิตยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL เป็นกรมธรรม์แบบพิเศษจัดอยู่ในประเภทกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน Investment -Linked Life Insurance ที่ให้ทั้งความคุ้มครองและผลตอบแทนจากการลงทุน โดยบริษัทฯ รับรองการจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำ
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL เป็นทางเลือกหนึ่งในการทำประกันชีวตของลูกค้าด้วยจุดเด่นของยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL
1. โอกาสรับผลตอบแทนสูงจากพอร์ตการลงทุนเฉพาะ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีลักษณะควบการลงทุน Investment – Linked Life Insurance จึงแยกส่วนความคุ้มครองชีวิตและส่วนการลงทุนอย่างชัดเจน บริษัทฯ จะนำเงินจากเบี้ยยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL ส่วนหนึ่งไปซื้อความคุ้มครองชีวิต และอีกส่วนหนึ่งลงทุนใน พอร์ตการลงทุนเฉพาะ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL แยกต่างหากจากพอร์ตลงทุนรวมของบริษัทฯ ผลตอบแทนที่ได้รับเฉพาะของ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :ULจะสะสมเข้าบัญชีกรมธรรม์ของผู้เอาประกันภัยแต่ละราย และบริษัทฯ จะจ่ายผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่รับรองไว้ในกรมธรรม์
กรมธรรม์ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL
ส่วนความคุ้มครอง
วงเงินคุ้มครองตามจำนวนเงินเอาประกันภัย ส่วนการลงทุน
รับผลตอบแทนจากการลงทุน
บริษัทฯ รับรองผลตอบแทนขั้นต่ำ

2. ความโปร่งใส
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL มีความโปรงใสและแตกต่างจากการประกันชีวิตแบบดั้งเดิม (Traditional) เนื่องจาก UL แจกแจงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันภัยทราบชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นค่าการประกันภัย ค่ารักษากรมธรรม์ มูลค่ากรมธรรม์ประกันภัยในแต่ละช่วงเวลาและผลตอบแทนที่ได้รับ บริษัทฯ จะส่งจดหมายแจ้งมูลค่าบัญชีกรมธรรม์ฯ ให้ผู้เอาประกันภัยทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
3. ความยืดหยุ่น
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL เปิดโอกาสให้ผู้เอาประกันภัย เลือกปรับเพิ่ม/ลดความคุ้มครองชีวิต และ/หรือส่วนการออมเพิ่มเติม รวมทั้งปรับเพิ่ม/ลดเบี้ยฯ ได้ตามที่ต้องการ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์
4. การรักษาสภาพคล่องทางการเงิน
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิถอนเงินจากมูลค่ากรมธรรม์ประกันภัยของตนเองได้เพื่อนำมารักษาสภาพคล่องทางการเงิน โดยไม่จำเป็นต้องเวนคืนกรมธรรม์
5. สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ผู้เอาประกันภัยนำเบี้ยประกันภัยที่จ่ายจริงใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนสูงสุดไม่เกิน 100,000.00 บาท (ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172) ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL90/90 ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนทั้งเบี้ยประกันภัยหลักและเบี้ยประกันภัยส่วนออมเพิ่มเติม (ถ้ามี)
เบี้ยฯ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL
เบี้ยฯ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เบี้ยประกันภัยหลัก (Regular Premium : RP) หมายถึง เบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์เป็นจำนวนก่อนหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย ทั้งนี้ไม่รวมเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมใด ๆ
2. เบี้ยประกันภัยส่วนออมเพิ่วเติม (Top – Up Premium : TP) หมายถึง เบี้ยประเภทที่ผู้เอาประกันภัยชำระนอกเหนือจากเบี้ยประกันภัยหลักในเวลาใด ๆ ที่กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ และไม่อยู่ในระหว่างการหยุดพักชำระเบี้ยประกันภัยทั้งนี้ จำนวนเบี้ยประกันภัยส่วนออมเพิ่มเติมขั้นสูงและขั้นต่ำให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์บริษัทฯ กำหนด
การชำระเบี้ยฯ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL หลัก (Regular Premium :RP) บริษัทฯ มีข้อกำหนดดังนี้
บริษัทฯ มีข้อกำหนดในการชำระเบี้ยฯ หลัก (Regular Premium :RP)
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 งวดชำระเบี้ยฯ RP :
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90

งวดชำระเบี้ยฯ RP รายปี ราย 6 เดือน และรายเดือน
- ไม่รับชำระเบี้ยฯ ล่วงหน้า (ยกเว้นรายเดือน) เปลี่ยนงวดชำ
- เปลี่ยนงวดชำระเบี้ยฯ ได้
เบี้ยฯ RP ขั้นต่ำ 1 เดือน – 70 ปี 71 – 75 ปี 76 – 80 ปี
รายปี 12,000.00 บาท 24,000.00 บาท 30,000.00 บาท
ราย 6 เดือน 6,000.00 บาท 12,000.00 บาท 15,000.00 บาท
ราย 3 เดือน 3,000.00 บาท 6,000.00 บาท 7,500.00 บาท
รายเดือน 1,000.00 บาท 2,000.00 บาท 25,00.00 บาท
งวดรายเดือน ชำระล่วงหน้า 2 งวด เฉพาะการชำระเบี้ยฯ ครั้งแรก
เพื่อการออกกรมธรรม์
เบี้ยฯ RP สูงสุด สูงสุดไม่จำกัด
การชำระเบี้ยฯ ส่วนออมเพิ่มเติม
(Top – Up Premium : TP)
บริษัทฯ มีข้อกำหนดดังนี้
บริษัทฯ มีข้อกำหนดในการชำระเบี้ยฯ ส่วนออมเพิ่มเติม (Top – Up Premium: TP) ดังนี้
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90

งวดชำระเบี้ยฯ Top - Up ชำระตามงวดของเบี้ยฯ หลัก RP หรือ ชำระครั้งเดียว
กรมธรรม์ต้องมีผลบังคับและไม่อยู่ในช่วงหยุดพัดชำระเบี้ยฯ (Premium Holiday)
งวดชำระเบี้ยฯ Top - Up ครั้งละ 1,000.00 บาท
งวดชำระเบี้ยฯ Top – Up สูงสุด ไม่เกิดน 100% ของเบี้ย RP สะสมในแต่ละปีกรมธรรม์
อาทิ เช่น ปีกรมธรรม์ที่ x ชำระเบี้ยฯ RP 12,000.00 บาทดังนั้น ถ้านต้องการชำระเบี้ยฯ Top – Up จะชำระได้ไม่เกิน 12,000.00 บาท

ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ตรวจสุขภาพอย่างไร
การตรวจสุขภาพขึ้นกับแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
การตรวจสุขภาพและการตรวจ Anti - HIV ตรวจสุขภาพตามระเบียบบริษัทฯ

ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ไหมหรืออย่างไร
การซื้อสัญญาเพิ่มเติมขึ้นกับแบบ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ที่ลูกค้าเลือกซื้อ
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
การซื้อสัญญาเพิ่มเติม ซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ตามระเบียบที่บริษัทฯ ได้กำหนด
สัญญาเพิ่มเติม ทพ. ไม่ขายและไม่แถมฟรี
สัญญาเพิ่มเติม คบ./ฉพ. ไม่ได้
สัญญาเพิ่มเติม
ไทยประกันชีวิต ไลฟ์ฟิต
ทร.48(D12)
สร.2 (สร4)
สพ.โกลด์ (F01-F05)
และ รพ. (รพ L)

ไม่ได้
บริษัทฯ บริหารการลงทุน ของ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 อย่างไร
การลงทุนมีความสำคัญต่อการดำเนินงานและความมั่นคงของธุรกิจประกันชีวิต บริษัทฯ ได้นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ตามข้อบังคับของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เพียงพอและสอดคล้องกับภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย
สำหรับแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ บริษัทฯ กับผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับความเสียงร่วมกันโดยบริษัทฯ จะนำค่าเบี้ยฯ ส่วนหนึ่งไปซื้อความคุ้มครองชีวิต และค่าเบี้ยฯ อีกส่วนหนึ่งนำไปลงทุนในพรอ์ตการลงทุนเฉพาะของยูนิเวอร์แซลไลฟ์ที่แยกต่างหากจากพอร์ตการลงทุน รวมของบริษัทฯ
นอกจากนี้ด้วยผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจและผลตอบแทนการลงทุนที่ลดต่ำลง บริษัทฯ จำเป็นต้องแยกพอร์ตการลงทุน ของ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ที่เสนอขายตั้งแต่ ๑ มกราคม 2564 ทั้งนี้ซึ่งเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเสี่ยงและผลตอบแทนการลงทุนปัจจุบัน โดยมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ไม่น้อยกว่า 70% และสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนไม่เกิน 30% ของพอร์ตการลงทุน และนำผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนเฉพาะของแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์นั้นสะสมเข้าในบัญชีกรมธรรม์ขนองผู้เอาประกันภัยแต่ละราย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ต่ำกว่าผลตอบแทนขั้นต่ำที่บริษัทฯ รับรองไว้ในกรมธรรม์
บริษัทฯ กำหนดอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่รับรองไว้ในแบบ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ดังนี้
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
อัตรรผลตอบแทนขั้นต่ำ ปีแรก 4%
อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยพอร์ตลงทุนขั้นต่ำปีต่อไป 1%
อ่านและศึกษาข้อมูลการลงทุนได้ที่ www.thailife.com/แบบประกัน/ทีแอลยูนิเวอร์แซลไลฟ์ หรือ Thai life Insurance (TLI) Application ของบริษัทฯ
หากผลตอบแทนจากการลงทุนของพอร์ต ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ต่ำกว่า 1% บริษัทฯ จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันภัยอย่างไร
หากผลตอบแทนจาการลงทุนของพอร์ต ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ต่ำกว่า 1% บริษัทฯ จ่ายผลตอบแทนตามอัตราที่บริษัทฯ รับรองขั้นต่ำไว้
หากผลตอบแทนจากการลงทุนของพอร์ต ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 มากกว่า 1% บริษัทฯ จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันอย่างไร
หากผลตอบแทนจากการลงทุนของพอร์ต ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 มากกว่า 1% บริษัทฯ จ่ายผลตอบแทนตามอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริง
ผู้เอาประกันภัย/ผู้รับประโยชน์ของ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ได้รับผลประโยชน์อย่างไร
ผู้เอาประกันภัย/ผู้รับประโยชน์จะได้รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ดังนี้
การรับผลประโยชน์
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
ครบสัญญาฯ รับมูลค่าบัญชีกรมธรรม์
กรณีเสียชีวิต 1. รับจำนวนเงินเอาประกันภัย
2. รับมูลค่าบัญชีกรมธรรม์
บริษัทฯ กำหนดหลักเกณฑ์ การเพิ่ม/ลดเบี้ยฯ หลัก เพิ่ม/ลดทุนอย่างไร
บริษัทฯ กำหนดหลักเกณฑ์การเพิ่ม/ลดเบี้ยฯ หลัก เพิ่ม/ลดทุน ดังนี้
เพิ่ม/ลดเบี้ยฯ หลัก เฉพาะยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 เพิ่ม/ลดทุน ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
เพิ่ม/ลดเบี้ยฯ หลักได้หลังกรมธรรม์มีผลบังคับ ไม่น้อยกว่า 2 ปี กรมธรรม์มีผลบังคับ เพิ่ม/ลดทุนได้ตลอดเวลา ไม้องรอครบรอบปีกรมธรรม์
เพิ่มเบี้ยฯ RP ได้ 50% ของเบี้ยฯ RP ขั้นต่ำ ตามงวดการชำระเบี้ยฯ จำนวนเงินเอาประกันภัยต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำ และไม่สูงกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด ตามหลักการคำนวณช่วงทุนประกันภัย
ตัวอย่างอาทิเช่น
ชำระเบี้ยฯ RP รายปีขั้นต่ำ 12,000.00 บาท ดังนั้น
ผู้เอาประกันภัยจะเพิ่มเบี้ยฯ RP ได้
= 6,000.00 บาท (50% ของ 12,000.00 บาท) การเพิ่มทุน หากเข้าเกณฑ์ตรวจสุขภาพ ต้องตรวจสุขภาพเพื่อการรับประกันภัย
เปลี่ยนก่อนถึงวันครบกำหนดชำระเบี้ยฯ 30 วัน/ภายในระยะเวลาผ่อนผัน 31 วัน ข้อพึงระวัง
การลงทุนมีผลกระทบต่อสัญญาเพิ่มเติม
บางแบบที่กำหนดทุนขั้นต่ำในการซื้อ
สัญญาเพิ่มเติมนั้น ๆ
หลังการเพิ่มเบี้ยฯ ช่วงของจำนวนเงินเอาประกันอาจเปลี่ยนแปลง
(คำนวณโดยใช้อายุ ณ วันที่ทำการเปลี่ยนแปลง)
เอกสารที่ใช้
1. กรมธรรม์
2. คำร้องขอเปลี่ยนแปลงแก้ไข (ปช.108) เอกสารที่ใช้
1. กรมธรรม์
2. คำร้องขอเปลี่ยนแปลงแก้ไข (ปช.108)
3. แบบฟอร์ม FATCA (กรณีเพิ่มทุน)
ค่าใช้จ่ายของ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 มีอะไรบ้าง
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 มีความโปรงใส เพราะแสดงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกรมธรรม์ไว้ชัดเจน โดยค่าใช้จ่ายของ
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 มีดังนี้
ค่าใช้จ่ายกรมธรรม์ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
ค่าดำเนินการประกันภัยเบี้ย RP คิดเป็น% ของเบี้ยฯ RP ที่ชำระ
ค่าดำเนินการประกันภัยเบี้ยฯ Top-Up 4% ของเบี้ยฯ Top - Up ที่ชำระ
ค่ารักษากรมธรรม์ (Policy Fee) คิดเป็นรายเดือน เดือนละ 55 บาทสูงสุดไม่เกิน 110 บาท
ค่าการประกันภัย (Cost of Insurance :COI) คิดเป็นรายเดือนตามอัตราที่บริษัทฯ กำหนด
ค่าต่ออายุกรมธรรม์ ครั้งละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 500 บาท
ค่าใช้จ่ายในการถอนมูลค่าบัญชีกรมธรรม์ (Surrender Charge) ค่าใช้จ่ายในการถอนเงินจากบัญชีสะสมของเบี้ยฯ RP และ/หรือ เบี้ยฯ Top-Up คิดเป็น % ของมูลค่าบัญชีเบี้ยฯที่ถอนตามอัตราที่บริษัทฯ กำหนด
ค่าใช้จ่ายการขอใบแจ้งรายงานสถานะทาการเงินของกรมธรรม์เมื่อร้องขอเอกสารมากกว่าเดือนละครั้ง ฉบับละ 50 บาท สูงสุดไม่เกิน 100 บาท
ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
มีโบนัสไหม
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับโบนัสสำหรับเบี้ยฯ หลักของ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90 ดังนี้
รับโบนัสเฉพาะแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
รับโบนัส 2% ของเบี้ยฯ หลักที่ชำระเท่ากันทุกครั้ง
รับโบนัสเมื่อชำระเบี้ยฯ หลัก ดังนี้
รายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน รายเดือน
รับโบนัส เมื่อชำระเบี้ยฯ หลักครั้งที่ 10 เป็นต้นไป รับโบนัส เมื่อชำระเบี้ยฯ หลักครั้งที่ 19 เป็นต้นไป รับโบนัส เมื่อชำระ เบี้ยฯ หลักครั้งที่ 37 เป็นต้นไป รับโบนัส เมื่อชำระเบี้ยฯ หลักครั้งที่ 109 เป็นต้นไป
หากผู้เอาประกันภัยเพิ่ม/ลดเบี้ยฯ หลัก ยังมีสิทธิรับโบนัสหรือไม่
หากผู้เอาประกันภัยเพิ่ม/ลดเบี้ยฯ หลัก ก็ยังมีสิทธิโบนัสสำหรับเบี้ยฯ หลัก ส่วนเพิ่ม/ส่วนที่ลด เมื่อชำระครบตามจำนวนครั้งที่บริษัทฯ กำหนด
โบนัสเบี้ยฯ หลัก คำนวณอย่างไร
ตัวอย่างการคำนวณโบนัสสำหรับเบี้ยฯ หลัก มีดังนี้
ชำระเบี้ยฯ RP ปีที่ 1-2 ชำระเบี้ยฯ RP ปีที่ 3 – 12
20,000.00 บาท
(นับเป็นการชำระครั้งที่ 1- 2) 30,000.00 บาท (20,000.00 บาท นับเป็นการชำระครั้งที่ 3 – 12) +รวม 10,000.00 บาท (นับเป็นการชำระครั้งที่ 1-10)
การรับโบนัส
ปีที่ 10 รับโบนัส = 400 บาท
(20,000.00 จากการชำระครั้งที่ 1 – 10 (ครบ 10 ครั้ง) x 2%)
ปีที่ 11 (20,000.00 จาการชำระครั้งที่ 11 x 2%, ยังไม่นำ 10,000.00 มาคำนวณ เนื่องจากเป็นการชำระครั้งที่ 9)
ปีที่ 12 (20,000.00 จากการชำระครั้งที่ 12 x 2% + 10,000.00 จากการชำระครั้งที่ 1- 10 (ครบ 10 ครั้ง) x 2%)
บริษัทฯ ยกเว้นการจ่ายโบนัส กรณีใดบ้าง
บริษัทฯ ยกเว้นการจายโบนัส กรณีต่อไปนี้
ผู้เอาประกันภัยใช้สิทธิหยุดพักชำระเบี้ยฯ หรือ
ถอนมูลค่าบัญชีเงินสะสมจากเบี้ยฯ หลักคืนบางส่วน หรือ
การต่ออายุกรมธรรม์
ลักษณะแบบใดจึงจะถือว่าเป็นการหยุดพักชำระเบี้ยฯ (PRWMIUM HOLIDAY) แล้วกรมธรรม์ยังมีผลบังคับหรือไม่
หยุดพักชำระ (PRWMIUM HOLIDAY) ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ Universal Life Insurance :UL 90/90
ชำระเบี้ยฯ RP
ครบ 2 ปี
(24 เดือน) ไม่ชำระเบี้ยฯ RP ภายในระยะเวลา
ผ่อนผัน 31 วัน หยุดพักชำระเบี้ยฯ
กรมธรรม์ยังไม่มีผลบังคับต่อไปตราบเท่าที่มูลค่าบัญชีกรมธรรม์
มีเพียงพอที่จะชำระค่าการประกันภัย (COI) และค่ารักษากรมธรรม์(POLICY FREE) จนกระทั่งมูลค่าบัญชีเท่ากับหรือน้อยกว่าศูนย์กรมธรรม์ จะขาดอายุและสิ้นสุดผลบังคับ
ชำระเบี้ยฯ RP
ไม่ครบ 2 ปี
(24 เดือน) คืนมูลค่าเวนคืนโดยอัตโนมัติ
บริษัทฯ จะคืนมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ วันก่อนครบกำหนด
ชำระเบี้ยฯ หักด้วยค่าใช้จ่ายการถอน (SURRENDER CHARGE) และหนี้สินค้าชำระภายใต้กรมธรรม์ (ถ้ามี) กรมธรรม์ก็จะสิ้นผลบังคับ
ระหว่างหยุดพักชำระเบี้ยฯ
หากมีสัญญาเพิ่มเติมแนบอยู่กับกรมธรรม์
รับสมัครตัวแทนประกันชีวิต ที่ปรึกษาทางการเงิน
คุณสมบัติ
จบการศึกษาวุฒิปริญญาตรี อายุ 20 ปีบริบูรณ์
สามารถทำงานออนไลนได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ตอบรับผ่าน อีเมล และGoogle.com/forms ได้
Click link
สร้างคุณภาพชีวิตดีดี
มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ
เข้าใจความคิดมนุษย์
ในปัจจุบันทันเหตุการณ์
ของสังคมทั้งในและนอกประเทศ
 
คู่มือสำหรับสมาชิก และที่ปรึกษาทางการเงิน (ฟรี)
ต่อด้วยเรื่องการประหยัดภาษี ประกันคีย์แมน ประกันบุคคลสำคัญ

กังวล และ ลดความกังวลใจ ในการบริหารบริษัท การเพิ่มรายจ่ายของบริษัท ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
เลขที่หนังสือ : กค 0811/พ.14516
วันที่ : 21 ตุลาคม 2540
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม การประเมินภาษีกรณีใช้ใบกำกับภาษีปลอม
ข้อกฎหมาย : ประเด็นปัญหา
ข้อหารือ : เจ้าพนักงานประเมินฯ ได้ทำการตรวจสอบพบว่าห้างฯ ได้นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้เครดิตภาษีซื้อ จึงทำการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบี้ยปรับ 3 เท่า ของเงินภาษีและเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ห้างฯ จึงขอให้พิจารณาทบทวนการประเมินภาษีของกรมสรรพากร โดย
1. ขอให้งดเบี้ยปรับ 3 เท่า ของตัวภาษี คงให้ชำระเฉพาะตัวภาษี 7% และเงินเพิ่ม1.5%
2. ขอผ่อนชำระค่าภาษีที่ถูกประเมิน โดยขอแบ่งผ่อนชำระเป็นงวดได้
3. ให้ใช้ใบกำกับภาษีส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เนื่องจากห้างฯ ได้ซื้อ
สินค้านั้นจริง ศึกษาข้อมูลเพ่ิ่มเติมได้จาก https://www.rd.go.th/22877.html
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได ซึ่งอัตราภาษีในปี 2563 เป็นดังนี้
รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
รายได้ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท)
รายได้ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 20,000 บาท)
รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)
รายได้ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)
รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)
รายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)
รายได้ 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

สิทธิค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท สำหรับผู้ที่มีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการ
ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ที่ยื่นแสดงรายการรวมกันในการคำนวณภาษี
ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท ซึ่งคนที่ 2 เป็นต้นไป จะเพิ่มอีก 30,000 บาท สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่สำหรับบุตรบุญธรรม หรือในกรณีที่มีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่)
ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ตนเองและพ่อแม่คู่สมรส คนละ 30,000 บาท
ค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

สิทธิค่าลดหย่อนจากประกัน
ประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 5,850 บาท (เนื่องจากปีนี้มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคมสูงสุดจาก 750 บาทต่อเดือน มาเป็น 150 บาทต่อเดือน ในช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. 63 และปรับมาเป็น 300 บาทต่อเดือน ในช่วงเดือน ก.ย. - พ.ย. 63 จึงทำให้สิทธิประโยชน์สูงสุดที่ได้รับนั้นลดลงกว่าปีก่อนๆ)
เบี้ยประกันชีวิต หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ได้ไม่เกิน 15,000 บาท

สิทธิค่าลดหย่อนจากเงินออมและการลงทุน
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูเอกชน ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถสะสมเพิ่มได้โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดไว้กับนายจ้าง
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

สิทธิค่าลดหย่อนจากเงินบริจาค
เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

สิทธิค่าลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต (ธุรกิจที่มีเครื่องรูดบัตร) เฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
โครงการช้อปดีมีคืน ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
กลุ่มสิทธิค่าลดหย่อนที่ติดค้างจากปีก่อน
โครงการบ้านหลังแรกปี 59 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท

ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
ก. บริษัท จำกัด
ข. บริษัทมหาชน จำกัด
ค. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
ค. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศไทยและกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ (มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร)
ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)
จ. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
ฉ. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร โดย
ก. รัฐบาลต่างประเทศ
ข. องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
ค. นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ
ก. บริษัทกับบริษัท
ข. บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ค. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ง. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
จ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ฉ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
ช. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น
(5) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
(6) นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
นิติบุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวในข้างต้น และเฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ ของรัฐบาลหรือสหกรณ์ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ยังมีนิติบุคคลอีกบางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร แต่ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ได้แก่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(2) บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(3) บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่าง ประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญาฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
(1) กำไรสุทธิ
(2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
(3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
(4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
4.ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
4.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ก. บริษัท จำกัด
ข. บริษัทมหาชน จำกัด
ค. ห้างหุ้นส่วน จำกัด
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ในกรณีที่บริษัทห้างห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอก ประเทศไทย จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใน ประเทศไทย
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ได้แก่
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย ได้แก่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าว จะต้องนำกำไรสุทธิเฉพาะ ที่ได้จากการกระทำกิจการในประเทศไทยมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบุคคลผู้จ้างเป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรดังกล่าว
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า
4.ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
4.2 รอบระยะเวลาบัญชี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้
(1) รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปตามบทบัญญัติมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้
(2) รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งน้อยกว่า 12 เดือน กรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้ มีเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ คือ
ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะ เวลาบัญชีแรกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปต้องเท่ากับ 12 เดือน
ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน
ค. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกันให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกเป็น วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกัน รอบระยะเวลาบัญชีที่ควบเข้ากันจึงเป็นไปตาม (ค) ซึ่งอาจน้อยกว่า 12 เดือน
ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการและยังชำระบัญชี ไม่เสร็จ หากมีกำไรสุทธิเกิดขึ้น จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่าบริษัทยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้น
(3) รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจขยายออกไปมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสีย ภาษีได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ถ้าได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วันนับแต่วัน ที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปได้ ซึ่งรอบระยะ เวลาบัญชีรอบนี้อาจเกิน 12 เดือนก็ได้)
4. ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
4.3 กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องใช้เกณฑ์สิทธิ หมายถึง ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ในกรณีจำเป็นผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดีเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิและวิธีการทางบัญชี เพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายตามเกณฑ์อื่นก็ได้ และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป
4. ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
4.5 เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)
รายจ่ายต้องห้าม หมายถึง รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคลและได้มีการบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการ แต่ในทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ขอบเขตรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร

(1) เงินสำรองต่าง ๆ เป็นรายจ่ายต้องห้าม นอกจาก เงินสำรองดังต่อไปนี้สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ คือ
(1.1) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัย เพื่อสมทบทุนประกันชีวิตได้ไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับ ในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันภัยต่อออกแล้ว ถือเป็นรายจ่ายได้
(1.2) เงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไรเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับ ในรอบระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัย ซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว ถือเป็นรายจ่ายได้
(1.3) เงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับหนี้ที่เกิดจากการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ให้กันไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แต่กรณีเฉพาะส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นจากเงินสำรองประเภทดังกล่าวที่ปรากฎในงบดุลของรอบระยะเวลาบัญชีก่อน
เงินสำรองที่ตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่งและได้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิไปแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใด ต่อมาหากมีการตั้งเงินสำรองประเภทดังกล่าวลดลง ให้นำเงินสำรองส่วนที่ตั้งลดลง ซึ่งได้ถือเป็นรายจ่ายไปแล้วนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลงนั้น
(2) เงินที่จ่ายเข้ากองทุนใด ๆ เป็นรายจ่ายต้องห้าม เว้นแต่ เงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ถือเป็นรายจ่ายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายเท่ากับจำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ. 2533)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หมายถึง กองทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยมีลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้น และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตาย ออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสม และนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น
(3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล เป็นรายจ่ายต้องห้าม เว้นแต่ รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ โดยให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี เช่น พนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมาเป็นเวลานาน ได้ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ บริษัทได้จ่ายเงินสมนาคุณจำนวนหนึ่งให้แก่ครอบครัวของลูกจ้างผู้นั้น โดยไม่มีระเบียบแต่อย่างใด เงินสมนาคุณที่บริษัทจ่ายให้กับครอบครัวของลูกจ้าง เป็นกรณีที่บริษัทจ่ายให้เองโดยไม่มีข้อบังคับ และมิใช่เป็นการจ่ายตามกฎหมายหรือระเบียบใด ๆ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา บริษัทจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หมายถึง รายจ่ายที่แต่ละคนควรจะรับภาระในส่วนของตนเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยผู้รับไม่มีความผูกพันในทางธุรกิจการงานกับผู้ให้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา หมายถึง รายจ่ายที่จ่ายไปโดยความรักใคร่ชอบพอกันเป็นการส่วนตัว ซึ่งผู้รับไม่มีความผูกพันว่าจะต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตอบแทน หรือเรียกว่า การให้เปล่า
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการกุศล หมายถึง รายจ่ายที่จ่ายไปในการทำบุญทำทาน บริจาคทรัพย์สินช่วยการศึกษา การศาสนา การสังคมสงเคราะห์หรือการอื่น ๆ แต่กรณีนี้กฎหมายยังยอมให้หักได้ในกรณีเป็นการจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อประโยชน์ของสาธารณะชนทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดว่าเป็นใคร
(4) ค่ารับรองหรือค่าบริการ ส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเป็นรายจ่ายต้องห้าม เว้นแต่ ค่ารับรองดังต่อไปนี้สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ มีหลักเกณฑ์ว่า
ก ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลซึ่งได้รับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เว้นแต่ ลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือการบริการนั้นด้วย
ข ค่ารับรองหรือค่าบริการต้อง
1. เป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น
2. เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการ ไม่เกินคนละ 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ
ค จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนเท่าที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมหรือคำนวณกำไรสุทธิ ก่อนหักรายจ่ายใดในรอบระยะเวลาบัญชี หรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทั้งนี้ รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
ง. ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือคำสั่งจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการนั้นด้วย และต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับเงินสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการ เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร
(5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินเป็นรายจ่ายต้องห้าม แต่หากเป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เช่น บริษัทแห่งหนึ่ง เช่าที่ดินมาเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารสำนักงานและคลังสินค้า บริษัทจ่ายค่าใช้จ่ายในการปรับพื้นที่เช่าซึ่งอยู่ใต้พื้นที่ลานคอนกรีตรวมถึงค่าใช้จ่ายในการปรับพื้นที่เช่าซึ่งอยู่ใต้พื้นที่อาคารสำนักงานและคลังสินค้า ถือเป็นการทำให้มูลค่าของที่ดินสูงขึ้น บริษัทจึงต้องนำค่าใช้จ่ายในการปรับพื้นที่ดังกล่าวไปรวมกับราคาที่ดินและถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่อกิจการเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี
รายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ทรัพย์สินดีขึ้น หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้อายุการใช้งานของทรัพย์สินเดิมยาวนานขึ้น หรือมีสภาพดีขึ้น
(6) เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากรค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นรายจ่ายต้องห้าม
คำว่า “เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา” หมายถึง เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม และค่าปรับอาญา ตามกฎหมายภาษีอากรทุกประเภท รวมถึงค่าปรับที่เป็นโทษทางอาญา และเงินเพิ่มภาษีอากรตามกฎหมายอื่นด้วย ( ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 40/2560 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2560 ที่อ้างอิงคำพิพากษาฎีกา ที่ 1109/2559)
(6ทวิ) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ และภาษีซื้อของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นรายจ่ายต้องห้าม เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่ม มิใช่รายได้หรือรายจ่ายของกิจการ เพราะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อถูกเรียกเก็บภาษีขายจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ผู้ที่ถูกเรียกเก็บภาษีก็นำภาษีนั้นมาเครดิต โดยหักออกจากภาษีขายของตนในแต่ละเดือนภาษีหรือขอคืนภาษีที่ถูกเรียกเก็บนั้น ดังนั้น ภาษีที่ถูกเรียกเก็บนั้น เรียกว่า ภาษีซื้อ จึงไม่ถือเป็นรายจ่ายของกิจการ เว้นแต่ ภาษีซื้อต้องห้ามบางลักษณะที่กำหนดไว้ในมาตรา 82/5 (4) และ (6) แห่งประมวลรัษฎากร นำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถนำไปเครดิตภาษีได้ ซึ่งเป็นภาระแก่ผู้เสียภาษี อาทิเช่น
1. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
2. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
3. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
4. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวให้มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นหรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
6. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ที่คำว่า “ใบกำกับภาษี” ไม่ได้ถูกตีพิมพ์ หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
7. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
8. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) เป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับและใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย
9. ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
10. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
11. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งรายการต่าง ๆ ได้ถูกแก้ไขหรือถูกเปลี่ยนแปลงเป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
12. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครองได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
13. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกหรือตัวแทนผู้ออกใบกำกับษี ไม่ได้พิมพ์ขึ้นหรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
(7) การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นรายจ่ายต้องห้าม หากมองตามหลักการบัญชีแล้ว การถอนเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ถือเป็นรายจ่ายอยู่แล้ว เป็นการถอนเงินลงทุนหรือเป็นการแบ่งกำไรกัน ไม่เกี่ยวข้องกับการบันทึกรายจ่ายของกิจการแต่อย่างใด
(8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรเป็นรายจ่ายต้องห้าม
เจ้าพนักงานมีอำนาจพิจารณารายจ่ายประเภทเงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน เปรียบเทียบกับรายอื่นซึ่งอยู่ในฐานะหรือลักษณะเดียวกัน อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน หรือทำเลเดียวกัน ประกอบกิจการค้าอย่างเดียวกันหรือลักษณะเดียวกัน
(9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นเป็นรายจ่ายต้องห้าม เว้นแต่ ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็อาจลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถัดไปได้
รายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หมายความถึง รายจ่ายใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง โดยไม่ได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นการตอบแทน
(10) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เองเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น บริษัทตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ได้มาเปิดสำนักงานสาขาในประเทศไทย โดยปลูกอาคารสำนักงานสาขาในประเทศไทย และคิดค่าเช่าปีละ 600,000 บาท ค่าเช่า จำนวน 600,000 บาท ที่บริษัทสาขาในประเทศไทยจ่ายให้กับบริษัทสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศนั้น จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทสาขาในประเทศไทยไม่ได้ เพราะกฎหมายถือได้ว่าบริษัทสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศกับบริษัทสาขาในประเทศไทยเป็นนิติบุคคลเดียวกัน การจ่ายเงินค่าเช่าดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินที่บริษัทเป็นเจ้าของเองและใช้เองตามมาตรา 65 ตรี (10) แห่งประมวลรัษฎากร
(11) ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่าง ๆ หรือเงินกองทุนของตนเองถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
(12) ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใด ๆ หรือผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามเว้นแต่ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน กรณีความเสียหายนั้นมีทางที่จะได้รับการชดใช้ตามสัญญา แต่ถ้าได้รับค่าชดใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือก็ลงเป็นรายจ่ายได้
ผลขาดทุนสุทธิ หมายถึง ผลขาดทุนสุทธิทางภาษี คือ ผลต่างของรายได้กับรายจ่ายที่หักได้ตามประมวลรัษฎากรซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เพราะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนตั้งขึ้นเพื่อมุ่งค้าหากำไร การชำระเงินควรอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของการประกอบกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
(14) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม รายจ่ายที่สาขาในประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศได้จ่ายไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเพื่อเป็นค่าตอบแทนการให้ความช่วยเหลือหรือการให้บริการแก่กิจการของสาขาในประเทศไทยที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้าม จะต้องเป็นกรณีที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่ารายจ่ายดังกล่าว เป็นรายจ่ายที่จ่ายไป โดยเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. รายจ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการของสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นนั้นเกี่ยวกับกิจการของสาขาในประเทศไทย
2. รายจ่ายที่เกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนา (Research and Development) โดยสาขาในประเทศไทยจะต้องได้รับบริการหรือได้นำผลการค้นคว้าและพัฒนามาใช้ประโยชน์ในกิจการของสาขาในประเทศไทยตามความเป็นจริง
3. รายจ่ายใดถ้าสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นได้นำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นแล้ว จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยอีกไม่ได้
4. รายจ่ายที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นเรียกเก็บมายังสาขาในประเทศไทยจะต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการเป็นที่รับรองทั่วไป (Generally Accepted) และต้องถือปฏิบัติเช่นเดียวกับสาขาในประเทศอื่น ๆ และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
จำนวนเงิน หลักเกณฑ์ และวิธีการดังกล่าวข้างต้นที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของสาขาในประเทศไทยได้ จะต้องมีหลักฐานหรือหนังสือรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือโดยบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเชื่อถือได้ และหลักฐานหรือหนังสือดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและสมควรแก่การดำเนินการธุรกิจของสาขาในประเทศไทยตามความเป็นจริง
(15) ค่าซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ซึ่งอาจกระทำกันภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ หรืออาจเรียกราคาดังกล่าวว่า การกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing)
(16) ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น การทำเหมืองแร่ หรือการทำป่าไม้ ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการขุดแร่หรือตัดไม้เพื่อนำไปจำหน่ายนั้น จำนวนสินแร่ในดินหรือจำนวนป่าไม้ย่อมน้อยลงหรือหมดไปในที่สุด การที่จำนวนสินแร่หรือจำนวนไม้ในเขตที่ได้รับสัมปทานลดน้อยลงหรือจะหมดไปหรือสูญสิ้นไปนั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะตีราคาหรือนำมูลค่าที่ลดน้อยลงนั้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (16) แห่งประมวลรัษฎากร
(17) ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลงถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม กรณีนี้ห้ามมิให้ตีราคาทรัพย์สินลดลงเพื่อนำมูลค่าที่ลดลงมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพราะการที่กิจการจะตีราคาทรัพย์สินลดลงโดยยังไม่มีการขายทรัพย์สินจริง ๆ นั้น รายการผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินลดลงย่อมเป็นรายการที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง และเป็นการตีราคาโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งราคาทรัพย์สินนั้นอาจจะยังไม่ได้ลดลงจริง ซึ่งเท่ากับเป็นการนำเอามูลค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาลดลงมาเป็นรายจ่ายทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง
(18) รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น บริษัทรับจ้างถมที่ และขายทราย-ดินลูกรัง ซึ่งซื้อมาจากจังหวัดชายทะเล แต่ผู้ขายไม่ได้ออกใบรับให้แต่อย่างใด กรณีนี้บริษัทก็ไม่มีหลักฐานที่เป็นค่าใช้จ่ายของการรับจ้าง แต่หากบริษัทมีหลักฐานการจ่ายเงิน ระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปี จำนวนเงิน รายการที่จ่าย และให้ผู้รับเงินลงชื่อรับไว้พื่อเป็นหลักฐานในการหักเป็นรายจ่าย ซึ่งทำให้บริษัทสามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร
(19) รายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้วถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น บริษัทจ่ายเงินค่าที่ปรึกษา โดยคำนวณจากกำไรของแผนกที่ได้รับ การปรึกษาหารือเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายใด ๆ ที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
(20) รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (19) ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับรายจ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำมาใช้คำนวณกำไรสุทธิในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี
4. ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
4.6 อัตราภาษี และการคำนวณภาษี
(1) อัตราภาษี
ก. กรณีลดอัตราภาษี ให้คำนวณภาษี ดังนี้
(1.1) กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (1.2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ
(1.2) กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา
โดยในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ให้คำนวณภาษี ในอัตรา ดังนี้
กำไรสุทธิ อัตราภาษีร้อยละ
ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้น
เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท 15
เกิน 3,000,000 บาท ขึ้นไป 20
(1.3) กรณีเป็นกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ สำหรับรายได้ที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือหรือสาขาต่างประเทศของสำนักงานฯ ดังต่อไปนี้
(ก) รายได้จากการให้บริการของสำนักงานฯ ได้แก่ วิสาหกิจในเครือหรือสาขาต่างประเทศของสำนักงานฯ
(ข) ดอกเบี้ยรับ ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่สำนักงานฯ ได้กู้มาเพื่อให้กู้ยืมต่อ
(ค) ค่าสิทธิ รวมทั้งค่าสิทธิที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่นำผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของสำนักงานไปใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการแก่สำนักงานฯ วิสาหกิจในเครือหรือสาขาต่างประเทศของสำนักงาน ฯ ทั้งนี้ เฉพาะค่าสิทธิที่เกิดจากผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของสำนักงานฯ ที่กระทำขึ้นในประเทศไทย
(1.4) กรณีเป็นกิจการนำเข้าส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพลังงานให้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป สำหรับรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงการซื้อและขายน้ำมันเชื้อเพลิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ทั้งนี้ บริษัทซึ่งประกอบกิจการที่มีรายได้จากการประกอบธุรกรรมและการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงได้แจ้งการเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพลังงานในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นต้นไป
(1.5) กรณีเป็นกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอ สะบ้าย้อย และจังหวัดสตูล และมีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าหรือการขายสินค้าหรือการให้บริการ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิ สำหรับ 3 รอบระยะเวลาบัญชี ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 2558 ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงรอบระยะเวลาบัญชี 2560 ที่สิ้นสุดภายในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
(1.6) กรณีกิจการเป็นศูนย์กลางการหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ
(1.7) กรณีได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ
ข. ภาษีจากกำไรสุทธิเฉพาะกรณีที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย ์ ลงวันที่16 กันยายน 2535 ร้อยละ 10
(2) การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิและต้องคำนวณภาษีเงินได้ นิติบุคคล และยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
ก. การคำนวณเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวล รัษฎากรดังนี้
(1) ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นอกจากที่กล่าวใน (2) ให้จัดทำประมาณการกำไร สุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แล้ว ให้คำนวณและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(2) ในกรณีบริษัทจดทะเบียนธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดให้คำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิ ของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วัน แรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี
ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีนี้ให้ถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้น รอบระยะเวลาบัญชีคือ เอาไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสียจากกำไรสุทธิของทั้งรอบระยะเวลาบัญชีและในกรณีที่ภาษีที่เสีย ไว้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีสูงกว่าภาษีที่จะต้องเสียทั้งรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลก็มีสิทธิขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินได้
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรอบระยะเวลาบัญชีแรกหรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้าย น้อยกว่า 12 เดือน ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
ข. การคำนวณเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี การคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้คำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร โดยนำกำไรสุทธิดังกล่าวคูณด้วยอัตราภาษี เงินได้นิติบุคคล จะได้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ต้องชำระ ถ้าคำนวณกำไรสุทธิออกมาแล้วปรากฎว่า ไม่มีกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ บริษัทไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าการจัดทำบัญชีของบริษัทได้จัดทำขึ้นตามหลักบัญชีโดยไม่ได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขในประมวลรัษฎากรเมื่อ จะคำนวณภาษีบริษัทจะต้องปรับปรุงกำไรสุทธิดังกล่าวให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากรแล้วจึง คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลการยื่นแบบแสดง
รายการและชำระภาษี
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีดังนี้
(1) การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ
จะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี(ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
(2) การเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบ
ระยะเวลาบัญชีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
อ่านต่ออ่้างอึงข้อมูลและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://www.rd.go.th/839.html
ประโยชน์ประกันคีย์แมน เรายินดีให้บริการและให้คำปรึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ ในการบริหารนิติบุคคลของลูกค้าทุกท่าน
         ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ รัฐบาลต้องการสร้างเสถียรภาพทางด้านการคลัง ภาครัฐโดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับกรมสรรพากร นำระบบโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็คทรอนิคมาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ซึ่งรวมถึงการรับชำระเงินภาษีประกอบกับลักษณะในการทำธุรกรรมภาคเอกชนในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วส่งผลให้กรมสรรพากร ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีมีการตรวจสอบและติดตามข้อมูลเข้มงวดเพิ่มขึ้น ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศ พระราชกำหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 อีกทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ในกำกับดูแลใช้บัญชีและงบการเงินที่นิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้ เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันทางการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้น โดยการสัมมนาจะบรรยายในหัวข้อ ดังนี้
1.กฎหมายภาษีและสิทธิประโยชน์ในทางภาษีใหม่ล่าสุด
2.แนวโน้ม (Trend) การจัดเก็บภาษีในอนาคต
3.ส่งต่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน ด้วย TMP
ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมการเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 และภาษีสรรพากรที่ออกใหม่ดังกล่าวในอนาคต บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จึงได้ศึกษาและสัมมนาเรื่องพิเศษ “รู้ทันกฎหมายภาษีและสิทธิประโยชน์ในทางภาษีใหม่ล่าสุด และแนวโน้ม (Trend) ในการจัดเก็บภาษีในอนาคต” เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการบริหารภาษีสำหรับบริษัทและนิติบุคคลที่กำลังขยายธุรกิจเพื่อผลกำไรที่มากขึ้น และมีความมั่นคงส่งต่อธุรกิจได้ต่อไป
สุดท้ายบริษัทฯ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับเกียรติ จากท่านในการให้เข้าพบเพื่อบริหารต่อไป

รับสมัครสมาชิก


Follow

© 2021 by Akarapol. ที่ปรึกษาทางการเงิน

เยี่ยมชมจำนวน  4305 ครั้ง